วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

ลิงค์ ฐานข้อมูลการออกแบบ

Parameter ต่างๆของน้ำเสียและความหมาย
ในการวิเคราะห์น้ำเสีย ในงานเกี่ยวกับก๊าซชีวภาพ จะมีตัว สำคัญๆ ดังนี้pH - เป็นค่าแสดงความเข้มข้นของอิออนไฮโดรเจน (H+) ในน้ำ แสดงถึงความเป็นกรดหรือด่างของน้ำ ซึ่งค่า pH จะมีค่าอยู่ในช่วง 0-14 โดยน้ำที่มีคุณสมบัติเป็นกรด จะมี pH ต่ำกว่า 7 ส่วนน้ำที่มีคุณสมบัติเป็นด่างจะมี pH มากกว่า 7
BOD ( Biochemical Oxygen Demand ) - ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นค่าที่บ่งบอกถึงผลกระทบของน้ำเสียที่มีต่อออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยทั่วไปจะวัดในรูปของ BOD5ซึ่งหมายถึงปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ถ้าค่า BOD มีค่าสูง แสดงว่า น้ำมีความสกปรกมากตามค่าที่สูงขึ้น
COD ( Chemical Oxygen Demand ) - ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการเพื่อใช้ในการ ออกซิเดชั่นสารอินทรีย์ในน้ำให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ และในระบบไม่ใช้อากาศ ก็จะกลายเป้น ก๊าซชีวภาพ ซึ่ง ถ้าค่า COD สูง แสดงว่าน้ำเสียมีความสกปรกมาก ในการออกแบบระบบก๊าซชีวภาพ ค่า COD จะบ่งบอกถึงปริมาณก๊าซชีวภาพ โดย
ค่า COD 1 kg จะให้ก๊าซมีเทน = 0.3 ลบ.ม โดยประมาณและค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ โดยอยู่ในอัตราส่วน 4 : 1
TS (Total Solids) - ของแข็งทั้งหมดที่อยู่ในน้ำเสียTDS (Total Dissolved Solids) - ของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ในรูปของสารละลาย ซึ่งจะเป็นอนุภาคขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
SS (Suspended Solids) - ชื่อภาษาไทยคือ ของแข็งแขวนลอย คือของแข็ง ที่ลอยอยู่ในน้ำ และ มองด้วยตาเปล่าเห็น เช่น ตะกอนเม็ดใหญ่ๆที่อยุ่ในน้ำเสีย หรือเศษขยะเล็กๆ ก็ถือว่าเป็น SS เช่นกัน
Settable Solids - ของแข็งจมได้ คือของแข็งส่วนที่ จมอยู่ก้นภาชนะ เมื่อตั้วทิ้งไว้ในระยะเวลา 1 ชม. ซึ่งตัวนี้ไม่มีนัยในกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพแต่ใช้ออกแบบ บ่อดักทราย และ ระบบดึงกาก รวมถึง ค่า Slope ของก้นบ่อหมักก๊าซชีวภาพ
VS (Volatile Solids) - ชื่อภาษาไทยคือ ของแข็งระเหยง่าย เป้นของแข็งส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งในระบบก๊าซชีวภาพ จะเป็นตัวชี้วัด การย่อยสลายของของเสียไปเป็นก๊าซชีวภาพ ถ้าค่า VS ในน้ำเสียเยอะ แสดงว่าการเปลี่ยนของเสียชนิดนี้เป็นก๊าซชีวภาพจะค่อนข้างง่าย และค่า VS นี้ยังเป็นตัววัดประสิทธิภาพของระบบก๊าซชีวภาพอีกด้วย ดังข้อสรุปดังนี้
ตะกอนจากก้นบ่อบริเวณท้ายๆของบ่อ มีค่า VS เยอะ - แสดงว่าตะกอนยังย่อยสลายได้ไม่หมด ยังมีส่วนที่ย่อยได้อยู่ FS (Fixed Solids) - ชื่อไทยคือ ของแข็งคงตัว เป็นของแข็งในส่วนที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น ทราย สารอนินทรีย์ต่างๆ ซึ่งถ้าน้ำเสียมี FS มาก แสดงว่าส่วนที่ย่อยไม่ได้ค่อนข้างสูงต้องทำการจัดการก่อน เช่น ใช้บ่อดักทราย ฯลฯ และคุณภาพตะกอนที่จะทิ้งจากบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ต้องมีส่วนประกอบของ FS เยอะ เพราะเป็นการแสดงว่า บ่อก๊าซชีวภาพ มีการหมักที่เหมาะสม จนสารอินทรีย์ย่อยสลายได้หมด
TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) - เป็นปริมาณของไนโตรเจนทั้งหมดที่อยุ่ในน้ำเสีย ทั้งในรูปของแข็งและสารละลาย ซึ่ง เป็นตัวบ่งบอกสภาพของน้ำเสียอีกตัวหนึ่ง ถ้าน้ำมีค่า TKN มาก น้ำจะมีสภาพเป็นด่าง และมีกลิ่นค่อนข้างเหม็น (เหม็นเปรี้ยวเหมือนดมแอมโมเนีย) ซึ่งระบบไร้อากาศหรือระบบก๊าซชีวภาพ ไม่สามารถจะกำจัด TKN ได้ (บางที เพิ่มให้อีกด้วย) การกำจัด TKN ต้องใช้อากาศหรือใช้พืชน้ำ เพราะพืชน้ำใช้ไนโตรเจนในการเจริญเติบโต
ความเป็นด่าง (Alkalinity) - คือความสามารถของน้ำนั้นในการสะเทินกรด (รวมตัวกับกรด เพื่อหักล้างเป็นกรด) .ซึ่งในระบบก๊าซชีวภาพ ต้องมีค่าความเป็นกรดและความเป็นด่าง เท่าๆกัน เพื่อรักษาสภาพของบ่อ
VFAs (Volatile Fatty Acids) - เป็นผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศ โดยเมื่อสร้างกรดเสร็จแล้ว แบคทีเรีย จะเข้ามาย่อยสลายกรด ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ(ก๊าซมีเทน)
การพิจารณาคุณสมบัติของน้ำเสียที่นำมาผลิตก๊าซชีวภาพ
Alkalinity / COD ไม่ควรเกิน 0.4
VFA / Alkalinity น้อยกว่า 0.4 จะดี มากกว่า 0.8 ไม่ดี ต้องเติมด่าง
VFA ควรมีค่าประมาณ 50-500 มก./ล ถ้า VFA มากกว่า 2500 ประสิทธิภาพของระบบจะลดลง -->
http://erdi.or.th/~km/PEDIA%20For%20%20KM/Biogas/Parameter.html
http://chemsci.kku.ac.th/choosak/pps/environ4.pps#20 ลิงค์ ค่า BODs ของน้ำเสียจากโรงงานต่างๆ

http://web.bsru.ac.th/~jumpot/mgt_water/%BA%B7%B7%D5%E8%2009%20%A1%D2%C3%BA%D3%BA%D1%B4%B9%E9%D3%E0%CA%D5%C2%E1%BA%BA%B8%C3%C3%C1%AA%D2%B5%D4.doc ลิงค์ ระบบบึงประดิษฐ
ผลของการใช้น้ำส่าเบียร์ต่อการย่อยสลายกากอ้อย
ตัวอย่างการออกแบบ ระบำบัดเบื้องต้น http://www.tumcivil.com/engfanatic/article_gen.php?article_id=118&hit=1
http://www.land.arch.chula.ac.th/fieldtrip47/group1/ เทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียด้วยหญ้ากรองน้ำเสีย
http://www.swu.ac.th/royal/book1/b1c1t6.html แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย